ช้อนปรุงลด!! เกลือ น้ำปลา ปรุงเค็มปริมาณมากแค่ไหนถึงพอดี ใน 1 วัน

22 เม.ย. 2562 / กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ช้อนปรุงลด!! เกลือ น้ำปลา ปรุงเค็มปริมาณมากแค่ไหนถึงพอดี ใน 1 วัน

องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำปริมาณการบริโภคโซเดียมในอาหารไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 600 มิลลิกรัมต่อมื้อ เทียบเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือ น้ำปลาไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยมากๆ เพราะคนไทยรับประทานโซเดียมกันถึง 3,000-5,000 มิลลิกรัมต่อวันซึ่งเกินกว่าค่ามาตราฐานไปมาก คนส่วนใหญ่ติดกินเค็ม ติดการปรุงรสอาหารด้วยความชินจึงทำให้บริโภคโซเดียมสูงกว่าปริมาณที่แนะนำถึง 2 เท่า

การกินเค็มมากๆจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงและโรคไต เราได้รับโซเดียมมากมายในแต่ละวันจากอาหารหมักดอง เครื่องปรุงรส น้ำปลา เกลือ ผงชูรส อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป กุนเชียง แฮม ไส้กรอก ปลาร้า ไข่เค็ม ปูเค็ม ขนมขบเคี้ยวต่างๆ

ทาง สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จึงได้สร้างสรรค์ไอเดียเพื่อสื่อให้ผู้บริโภคได้ตระหนักมากขึ้นกับ ช้อนปรุงลด ที่ดีไซน์ออกมาให้มีรูตรงกลางเพื่อให้ผู้บริโภคจำภาพว่าควรปรุงอาหารด้วยน้ำปลาและเกลือเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ปริมาณโซเดียมเหมาะสมกับอาหารแต่ละมื้อ

แม้จะตักเครื่องปรุงมากแค่ไหนแต่ก็จะทะลุผ่านออกไปจนหมดเหลือเพียงแค่ปลายช้อน เมื่อทำบ่อยๆก็จะติดเป็นนิสัยจนจดจำได้ว่าปริมาณน้ำปลาและเกลือแค่ไหนถึงเหมาะสมในแต่ละวัน บางคนชอบปรุงอาหารทั้งที่ความจริงแล้วอาหารนั้นๆ อาจมีรสชาติเค็มอยู่แล้ว การยิ่งเทน้ำปลาลงไปเพิ่มจะยิ่งทำให้ได้รับโซเดียมสูงเกินจากความต้องการ ที่สำคัญคือการชิมก่อนปรุงทุกครั้ง ก็จะช่วยลดการเติมเครื่องปรุงเค็มมากจนเกินไปเพื่ออายุที่ยืนยาว ลดเค็ม ลดโรค ได้ด้วยนะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ผิวหนังเผยสาเหตุของภาวะผมร่วง

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เผยสาเหตุของภาวะผมร่วงเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ทุกสาเหตุสามารถรักษาได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะผมร่วงแนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องนาย

อ่านบทความนี้

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเราเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ?

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข#สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

อ่านบทความนี้

วัคซีน 4 เข็ม สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ รับมือโควิด 19

1. วัคซีน DMHTT ความรู้สึกปลอดภัย เข้มมาตรการป้องกันโรค สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไม่ไปในสถานที่แออัด2. วัคซีนความหวัง มีมุมมองทางด้านบวก3. วัคซีนไม่ตระหนก การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร รับฟังข้อ

อ่านบทความนี้